ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษา : นางกฤษดา ดีวัน วัน เดือน ปี : ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังเป่ง ที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 สถิติที่ใช้ คือร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t-test (Paired Samples) ผลการศึกษา พบว่า 1. แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.33/88.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.7586 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.86 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังเป่ง เมื่อเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะแล้วพบว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังได้รับการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 11.00) 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.35 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
|
E-News > เผยแพร่งานวิชาการ >